Written by 4:26 pm News

ตลาดสำคัญ! Airbus ตอกย้ำความมุ่งมั่นที่มีต่อประเทศไทย

แอร์บัสเล็งเห็นว่าธุรกิจด้านการทหารและอวกาศในประเทศไทยมีศักยภาพที่สูง และยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเช่นกัน

คุณปิแอร์ อองเดรย์ ประธานกรรมการแอร์บัสประจำประเทศไทย กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงเทพฯ ก่อนงานแสดงยุทโธปกรณ์เทคโนโลยีด้านการทหารและความปลอดภัยระดับเอเซีย (Defence & Security exhibition) โดยเน้นว่าประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญของแอร์บัสที่ขยายตัวเติบโตขึ้นจนกลายเป็นซัพพลายเออร์หลักของเครื่องบินพาณิชย์ เครื่องบินป้องกันทางอากาศและอวกาศ และเฮลิคอปเตอร์ของแอร์บัส

ปิแอร์ อองเดรย์ ประธานกรรมการแอร์บัสประจำประเทศไทย

คุณอองเดรย์เน้นถึงความสำเร็จของแอร์บัสด้านเครื่องบินเชิงพาณิชย์ที่มีใช้ในทุกภาคส่วนของประเทศ เครื่องบินแอร์บัสที่ให้ปฏิบัติการบินโดยสายการบินหลักในประเทศไทยมีจำนวน 62 ลำ ซึ่งครอบคลุมเกือบจะทุกรุ่นในสายการผลิต ดังนี้ เครื่องบินตระกูล เอ320 (A320) ตระกูล เอ330 (A330) เอ350 (A350) และเอ380 (A380)

ไทยสมายล์ เพิ่มเส้นทางบิน

เครื่องบินแอร์บัสที่ให้ปฏิบัติการบินโดยสายการบินหลักในประเทศไทยมีจำนวน 62 ลำ ซึ่งครอบคลุมเกือบจะทุกรุ่นในสายการผลิต

นอกเหนือจากเครื่องบินพาณิชย์ที่ประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัดเจน ในส่วนของเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินทางทหาร แอร์บัสมีอากาศยานปีกหมุน 70 ลำ และอากาศยานปีกตรึง (Fixed-wing aircraft) ที่ใช้ทางทหาร 20 ลำ โดยอากาศยานเหล่านี้ถูกนำไปปฏิบัติการในภารกิจที่หลากหลาย เช่น การค้นหาและกู้ภัย บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การลำเลียงกำลังพล สาธารณะประโยชน์ และการท่องเที่ยว

“ประเทศไทยใช้เฮลิคอปเตอร์ของแอร์บัสเกือบทุกสายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เฮลิคอปเตอร์ขนส่งลำเลียงอเนกประสงค์รุ่น เอช145เอ็ม (H145M) ของกองทัพเรือไทย เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์รุ่นใหม่ล่าสุด เอช225เอ็ม (H225M) และเอช135 (H135) เฮลิคอปเตอร์สำหรับฝึกซ้อมทางทหารรุ่นใหม่ของกองทัพอากาศไทย ในขณะเดียวกัน เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีรุ่น ซี295 (C295) ก็มีบทบาทสำคัญต่อกองทัพบกโดยมีภารกิจตั้งแต่ลำเลียงกำลังพลและสิ่งของไป การอพยพทางการแพทย์และการเคลื่อนกำลังทหารพลร่ม”

เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์รุ่นใหม่ล่าสุด เอช225เอ็ม (H225M)

เฮลิคอปเตอร์ขนส่งลำเลียงอเนกประสงค์รุ่น เอช145เอ็ม (H145M)

นอกเหนือจากเรื่องของเครื่องบิน คุณอองเดรย์ยังเน้นย้ำว่าแอร์บัสยังให้การสนับสนุนความพยายามด้านอวกาศของไทยเป็นมาโดยตลอด

“หลังจากที่ดาวเทียมสำรวจโลกธีออส-1 (THEOS-1) ของประเทศไทยขึ้นสู่อวกาศในปี 2551 แอร์บัสภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกให้สร้างระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ธีออส-2 (THEOS-2) โดยดาวเทียมดวงนี้มีกำหนดการปล่อยในช่วงปลายปี 2565 หรือช่วงต้นปี 2566”

ดาวเทียม THEOS-2

ในเดือนมิถุนายน 2565 แอร์บัสและสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านอวกาศของประเทศไทยในอนาคต โดยความร่วมมือนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมดำเนินการนำดาวเทียมของไทยและบริการในอนาคตมาใช้ เพื่อขยายขีดความสามารถของระบบอวกาศของไทย เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของประเทศและมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ในสังคมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การลงนามความร่วมมือระหว่างแอร์บัสและสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

“ศักยภาพในการพัฒนาด้านอวกาศของไทยในประเทศมีอยู่มาก และแอร์บัสรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้มีส่วนร่วมในความพยายามนี้”

อองเดรย์ได้ย้ำถึงความสำคัญของการเป็นพันธมิตรอันยาวนานระหว่างแอร์บัสกับประเทศไทย นอกจากสำนักงานในประเทศแล้ว แอร์บัสยังได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการการบินของแอร์บัสในกรุงเทพฯ ตลอดจนศูนย์บริการลูกค้าเฮลิคอปเตอร์ที่ให้การบำรุงรักษาและพัฒนาฝูงบิน (MRO) ของพลเรือนและทหาร และให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคกับลูกค้าในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ได้แก่ ประเทศลาวและกัมพูชา แอร์บัสถือเป็นผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์รายเดียวที่มีศูนย์ซ่อมบำรุงในประเทศไทยในปัจจุบัน

แอร์บัสมีข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทอุตสาหกรรมการบินไทย (TAI) ให้การสนับสนุนฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดของของรัฐบาลไทย โดย TAI เป็นผู้รับเหมาหลักและเป็นศูนย์ให้บริการดูแลการขายและการจัดจำหน่ายฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ของแอร์บัสทุกลำที่ปฏิบัติการโดยกองทัพและหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย

ด้านการผลิต แอร์บัสได้ทำสัญญาหลายฉบับร่วมกับไทรอัมพ์ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส เอเชีย (Triumph Aviation Services Asia) โดยครอบคลุมในเรื่องการซ่อมแซม ยกเครื่อง และดัดแปลงโครงสร้างเฟรมของเครื่องบิน  เอ320 เอ330 และ เอ340 ที่ดำเนินการโดยสายการบินต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยคาร์บอน เอวิเอชั่น (Qarbon Aviationยังได้ผลิตชิ้นส่วนคอมโพสิตสำหรับเครื่องบินรุ่น A320 A330 และA350

ประเทศไทยเป็นพันธมิตรหลักของแอร์บัส และเรายังคงมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ในไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนภาคส่วนการบินและอวกาศที่กำลังเติบโต” คุณอองเดรย์กล่าว

งาน Defence & Security 2022

สำหรับงาน Defence & Security 2022 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2022 นี้ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี โดยภายในงานจะมีการรวบรวมเทคโนโลยีต่างๆจากผู้ผลิตทั่วโลก โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศและการรักษาความปลอดภัย เป็นงานที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงกลาโหม และถือเป็นอีกหนึ่งงานแสดงเทคโนโลยีป้องกันประเทศชั้นนำในภูมิภาค สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

คุณปิแอร์ อองเดรย์ ประธานกรรมการแอร์บัสประจำประเทศไทย

คุณปิแอร์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการแอร์บัสประจำประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยเป็นตัวแทนของแอร์บัสในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์และสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ในทุกสายธุรกิจของแอร์บัสในประเทศ นอกจากนี้ คุณปิแอร์ยังดารงตาแหน่งหัวหน้าฝ่ายขายเฮลิคอปเตอร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควบคู่กันไปอีกด้วย

Tags: , , Last modified: August 26, 2022
Close